สรุปข้อสนเทศบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)

กลับ
เอกสารหมวด ข หมายเลข 5 - สรุปข้อสนเทศ - บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (BTS) (เดิมชื่อ บริษัท ธนายง จำกัด (มหาชน)) ชั้น 14 ทีเอสทีทาวเวอร์ ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ 21 ซอยเฉยพ่วง ถนนวิภาวดี-รังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 โทรศัพท์ 0-2273-8511-5 โทรสาร 0-2273-8516 Website www.tanayong.co.th ขณะนี้ อยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลง Website เป็น www.btsgroup.co.th ซึ่งคาดว่าจะ แล้วเสร็จภายในวันที่ 21 พฤษภาคม 2553 นี้ หุ้นสามัญ 35,781,271,787 หุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท ประเภทหลักทรัพย์ จดทะเบียน รวม 35,781,271,787 บาท ณ วันที่ 4 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ทุนของบริษัท ทุนจดทะเบียน หุ้นสามัญ 65,142,190,902 บาท หุ้นบุริมสิทธิ - บาท ทุนชำระแล้ว หุ้นสามัญ 35,781,271,787 บาท หุ้นบุริมสิทธิ - บาท ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ตลาดรอง การจัดสรรหุ้นส่วนเกิน -ไม่มี- ประวัติความเป็นมาโดยสรุป บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (เดิมชื่อ บริษัท ธนายง จำกัด (มหาชน)) ("บริษัทฯ") เป็นบริษัทพัฒนา อสังหาริมทรัพย์ไทยที่ก่อตั้งมากว่า 40 ปี โดยบริษัทฯ ได้เริ่มเปิดโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์โครงการแรก คือ โครงการธนาซิตี้ ซึ่งเป็นโครงการที่ประกอบด้วยบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ อาคารชุดพักอาศัย และที่ดินเปล่าจัดสรร ใน ปัจจุบัน บริษัทฯ ได้ขยายการดำเนินธุรกิจจากธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไปยังธุรกิจอื่นๆ เช่น ธุรกิจโรงแรม การ บริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ และงานบริหารโครงการ และได้นำบริษัทฯ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทยในปี 2534 ภายใต้ชื่อย่อในการซื้อขายหลักทรัพย์ "TYONG" โครงการหลักในปัจจุบันของบริษัทฯ ได้แก่ โครงการธนาซิตี้ โครงการโรงแรม ยู เชียงใหม่ บริหารโดย Absolute Hotel Services Co., Ltd. ภายใต้แบรนด์ "U" โครงการเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ เดอะรอยัลเพลส และเดอะแกรนด์ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังเป็นผู้บริหารงานก่อสร้างโครงการบ้านเอื้ออาทร และโครงการโรงแรมโฟร์พอยท์เชอราตัน (Four Points by Sheraton) ซึ่งเป็นโครงการโรงแรมระดับ 4 ดาว สูง 32 ชั้น จำนวนห้องพัก 437 ห้อง ตั้งอยู่ในศูนย์กลาง ธุรกิจบนถนนสาทร ใกล้สถานีรถไฟฟ้าสุรศักดิ์ มูลค่าโครงการประมาณ 2,200 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จ ในปี 2554 โดยบริหารโครงการในลักษณะสัญญาจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ (Turnkey) โดยขอบเขตการให้บริการ ครอบคลุมตั้งแต่การออกแบบ และการก่อสร้าง นอกจากนี้ เนื่องจากบริษัทฯ เล็งเห็นถึงโอกาสในการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันในธุรกิจพัฒนา อสังหาริมทรัพย์ บริษัทฯ จึงได้เข้าซื้อหุ้นสามัญของบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ("BTSC") ซึ่ง เป็นผู้ประกอบธุรกิจให้บริการเดินรถไฟฟ้าและเริ่มขยายธุรกิจไปยังธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในแนวเส้นทางรถไฟฟ้า บริษัทฯ เห็นว่านอกเหนือจากโอกาสในการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันโดยการดำเนินงานร่วมกันในธุรกิจพัฒนา อสังหาริมทรัพย์แล้ว BTSC ยังเป็นบริษัทที่มีความสามารถในการดำเนินงานและเป็นบริษัทที่เหมาะแก่การลงทุน อีกทั้ง ยังจะช่วยเพิ่มมูลค่าตลาด (Maket Capitalization) ของบริษัทฯ ได้ ซึ่งน่าจะส่งผลดีต่อสภาพคล่องของหุ้นบริษัทฯ และเป็นผลดีต่อผู้ถือหุ้น บริษัทฯ เข้าทำสัญญาซื้อหุ้นสามัญและรับโอนกิจการจากผู้ถือหุ้นของ BTSC ซึ่งทำให้บริษัทฯ ได้รับหุ้นสามัญ BTSC จากผู้ถือหุ้นของ BTSC จำนวนรวม 15,022,335,992 หุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท หรือ คิดเป็นร้อยละ 94.60 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของ BTSC (ปัจจุบัน BTSC มีหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด จำนวน 15,879,516,393 หุ้น) ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2553 ของบริษัทฯ ได้มีมติอนุมัติการเข้าซื้อหุ้นสามัญ BTSC ดังกล่าวเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2553 โดยได้กำหนดราคาซื้อขายหุ้น BTSC ไว้หุ้นละ 2.665 บาท คิดเป็นค่าตอบแทนรวมทั้งสิ้น 40,034,525,418.68 บาท ("การเข้าซื้อหุ้นสามัญ BTSC") โดยบริษัทฯ ชำระค่าตอบแทนส่วนหนึ่งเป็นเงินสดจำนวน รวม 20,655,711,989.69 บาท (คิดเป็นร้อยละ 51.59 ของค่าตอบแทน) และค่าตอบแทนส่วนที่เหลืออีกจำนวน 1 19,378,813,428.99 บาท (คิดเป็นร้อยละ 48.41 ของค่าตอบแทน) บริษัทฯ ชำระโดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ บริษัทฯ จำนวน 28,166,879,984 หุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท โดยกำหนดราคาหุ้นของบริษัทฯ ที่ 0.688 บาท ต่อหุ้น ทั้งนี้ สัดส่วนของค่าตอบแทนที่เป็นเงินสดและหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทฯ ที่จะชำระให้กับผู้ขายหุ้นสามัญ BTSC แต่ละราย เป็นอัตราส่วนเดียวกันทั้งหมด ซึ่งการเข้าซื้อหุ้นสามัญ BTSC จากผู้ถือหุ้นของ BTSC สรุปโดยสังเขป มีรายละเอียดดังนี้ 1) ซื้อหุ้นสามัญ BTSC เป็นจำนวนรวม 6,656,535,992 หุ้น ที่ราคา 2.665 บาท ต่อหุ้น โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1.1 ซื้อหุ้น BTSC จำนวน 5,748,127,269 หุ้นจาก Siam Capital Developments (Hong Kong) Limited ("Siam Capital") โดยชำระค่าหุ้นดังกล่าวเป็นเงินสดจำนวน 7,903,674,995.13 บาท และออกหุ้น สามัญเพิ่มทุนของบริษัทฯ อีกจำนวน 10,777,738,629 หุ้น Siam Capital เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นที่ฮ่องกง โดยมี Siam Capital Developments Limited ซึ่งเป็น บริษัทที่จัดตั้งในประเทศ British Virgin Islands ถือหุ้นทั้งหมดใน Siam Capital โครงสร้างการถือหุ้น ของ Siam Capital Developments Limited (ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2552) ได้แก่ กองทุนต่างๆ ที่บริหารโดย Ashmore Investment Management Limited (และ/หรือ บริษัทใน เครือหรือบริษัทที่เกี่ยวข้องหรือที่อยู่ภายใต้การควบคุมเดียวกัน) เป็นผู้ถือ และ/หรือ รับ ผลประโยชน์ (legal and/or beneficial holder) ทั้งทางตรงหรือทางอ้อม จำนวนร้อยละ 27.5 ของหุ้นที่จำหน่ายแล้วทั้งหมดของ Siam Capital Developments Limited กองทุนต่างๆ ที่บริหารโดย Farallon Capital Management, L.L.C. เป็นผู้ถือ และ/หรือ รับ ผลประโยชน์ (legal and/or beneficial holder) ทั้งทางตรงหรือทางอ้อม จำนวนร้อยละ 22.5 ของหุ้นที่จำหน่ายแล้วทั้งหมดของ Siam Capital Developments Limited และ Worldex Holdings Limited เป็นผู้ถือและรับผลประโยชน์ (legal and beneficial holder) ทั้ง ทางตรงหรือทางอ้อม จำนวนร้อยละ 50 ของหุ้นที่จำหน่ายแล้วทั้งหมดของ Siam Capital Developments Limited 1.2 ซื้อหุ้น BTSC จำนวน 508,408,723 หุ้นจาก Keen Leader Investments Limited ("Keen Leader") โดยชำระค่าหุ้นดังกล่าวเป็นเงินสดจำนวน 699,061,994.56 บาท และออกหุ้นสามัญเพิ่ม ทุนของบริษัทฯ อีกจำนวน 953,266,355 หุ้น ทั้งนี้ นายกวิน กาญจนพาสน์ ("นายกวิน") เป็นผู้ถือหุ้น ทั้งหมดใน Keen Leader ซื้อหุ้น BTSC จำนวน 400,000,000 หุ้นจาก นายคีรี กาญจนพาสน์ ("นายคีรี") โดยชำระค่าหุ้น 1.3 ดังกล่าวเป็นเงินสดจำนวน 550,000,000 บาท และออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทฯ อีกจำนวน 750,000,000 หุ้น (รวมเรียกว่า "รายการซื้อหุ้นสามัญ BTSC") 2) รับโอนกิจการทั้งหมดของบริษัท สยาม เรลล์ ทรานสปอร์ต แอนด์ อินฟราสตรัคเจอร์ จำกัด ("สยามเรลล์") ซึ่งกิจการทั้งหมดดังกล่าวประกอบด้วยหุ้นสามัญ BTSC จำนวน 8,365,800,000 หุ้น โดยชำระมูลค่ากิจการ ของสยามเรลล์ เป็นเงินสดจำนวน 11,502,975,000 บาท และออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทฯ อีกจำนวน 15,685,875,000 หุ้น และบริษัทฯ ได้รับโอนหนี้สินจากสยามเรลล์ และมีการปรับลดค่าตอบแทนที่เป็นเงินสด ลงเท่ากับจำนวนหนี้สินที่บริษัทฯ รับโอนจากสยามเรลล์ ("รายการรับโอนกิจการ") หุ้นสามัญ BTSC ที่บริษัทฯ ได้รับจากสยามเรลล์นั้น เป็นหุ้นที่มีต้นทุนทางภาษีดังตารางด้านล่าง ซึ่งเป็น ต้นทุนที่ใช้ในการคำนวณภาษี หากบริษัทฯ ขายหุ้นดังกล่าวในอนาคต ต้นทุนทางภาษี (บาทต่อหุ้น) ซึ่ง จำนวนหุ้น บริษัทฯ รับมาจากสยามเรลล์ 6,985,800,000 1.00 1,380,000,000 1.60 ณ วันที่ 4 พฤษภาคม 2553 สยามเรลล์มีทุนจดทะเบียนจำนวน 250,100,000 บาท โดยนายคีรี นายกวิน และ Siam Infrastructure Ltd. ("Siam Infrastructure") ถือหุ้นร้อยละ 50.90, 0.10 และ 49.00 ของทุนจด ทะเบียนของสยามเรลล์ ตามลำดับ Siam Infrastructure เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นในฮ่องกงโดยมี Asian Transport and Infrastructure Limited ซึ่งเป็นบริษัทที่จัดตั้งในประเทศ Cayman Islands ถือหุ้นทั้งหมด โครงสร้างการถือหุ้นของ Asian Transport and Infrastructure Limited (ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2552 ตามที่ได้แจ้งต่อ BTSC) ได้แก่ 2 กองทุนต่างๆ ที่บริหารโดย Ashmore Investment Management Limited (และ/หรือ บริษัทในเครือ หรือบริษัทที่เกี่ยวข้องหรือที่อยู่ภายใต้การควบคุมเดียวกัน) เป็นผู้ถือ และ/หรือ รับผลประโยชน์ (legal and/or beneficial holder) ทั้งทางตรงหรือทางอ้อม จำนวนร้อยละ 55 ของหุ้นที่จำหน่ายแล้วทั้งหมด ของ Asian Transport and Infrastructure Limited และ กองทุนต่างๆ ที่บริหารโดย Farallon Capital Management, L.L.C. เป็นผู้ถือ และ/หรือ รับผลประโยชน์ (legal and/or beneficial holder) ทั้งทางตรงหรือทางอ้อม จำนวนร้อยละ 45 ของหุ้นที่จำหน่ายแล้ว ทั้งหมดของ Asian Transport and Infrastructure Limited นอกจากนี้ นายคีรีได้ทำการซื้อหุ้นสามัญของบริษัทฯ จาก Siam Infrastructure จำนวน 2,730,000,000 หุ้น โดยการ ซื้อหุ้นสามัญดังกล่าวเกิดขึ้นในวันที่ 4 พฤษภาคม 2553 หลังจากรายการซื้อหุ้นสามัญ BTSC ของบริษัทฯ แล้วเสร็จ โดยหุ้นดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทฯ ที่สยามเรลล์รับเป็นค่าตอบแทนจากการโอนกิจการ ทั้งหมดให้แก่บริษัทฯ และ Siam Infrastructure ได้รับหุ้นดังกล่าวจากสยามเรลล์จากการชำระบัญชีของสยามเรลล์ และนายกวินได้ทำการซื้อหุ้นสามัญของบริษัทฯ จำนวน 953,266,355 หุ้น จาก Keen Leader โดยการซื้อหุ้นสามัญ ดังกล่าวเกิดขึ้นในวันที่ 4 พฤษภาคม 2553 หลังจากรายการซื้อหุ้นสามัญ BTSC ของบริษัทฯ แล้วเสร็จ ภายหลังจากการซื้อหุ้นสามัญ BTSC เสร็จสิ้น เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2553 เพื่อให้สอดคล้องกับธุรกิจหลักของบริษัทฯ ซึ่งธุรกิจให้บริการระบบขนส่งมวลชนของ BTSC จะเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้ส่วนใหญให้กับกลุ่มบริษัทในอนาคต บริษัทฯ จึงได้ทำการเปลี่ยนชื่อบริษัทจากเดิม "บริษัท ธนายง จำกัด (มหาชน)" เป็น "บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)" และเปลี่ยนชื่อย่อหลักทรัพย์ของบริษัทฯ จากเดิม "TYONG" เป็น "BTS" ประเภทกิจการและลักษณะการดำเนินงาน ภายหลังการเข้าซื้อหุ้นสามัญ BTSC บริษัทฯ มีการประกอบธุรกิจหลัก คือ (1) ธุรกิจการดำเนินการระบบขนส่งมวลชน เช่น ระบบ รถไฟฟ้าบีทีเอส และบีอาร์ที (2) ธุรกิจสื่อโฆษณา (3) ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เช่น อสังหาริมทรัพย์ทั้งที่อยู่ในแนวรถไฟฟ้าและ นอกแนวรถไฟฟ้า โรงแรม และเซอร์วิสอพาร์ทเมนท์ (4) ธุรกิจให้บริการ เช่น ธุรกิจบริหารโรงแรม ธุรกิจสมาร์ทการ์ด ธุรกิจ รับเหมาก่อสร้าง และธุรกิจสนามกอล์ฟ ลักษณะธุรกิจ 1. ธุรกิจการดำเนินการระบบขนส่งมวลชน ดำเนินการโดย BTSC ซึ่งเป็นผู้ได้รับสิทธิในการดำเนินการโครงการระบบขนส่งมวลชน กทม. ("ระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส") แต่เพียงผู้เดียว ในฐานะผู้รับสัมปทานตามสัญญาสัมปทานระบบขนส่งมวลชนบีทีเอส ระหว่าง กรุงเทพมหานคร ("กทม.") กับ BTSC ("สัญญาสัมปทาน") เป็นระยะเวลา 30 ปี สิ้นสุดวันที่ 5 ธันวาคม 2572 ตามสัญญาสัมปทาน BTSC จะต้องโอนกรรมสิทธิ์งานโครงสร้างให้แก่กทม. เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ ซึ่ง BTSC ได้ทำการโอนกรรมสิทธิ์ ดังกล่าวแล้วในเดือนพฤศจิกายน 2542 สำหรับงานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล ซึ่งรวมถึง ขบวนรถไฟฟ้า นั้น BTSC เป็น เจ้าของกรรมสิทธิ์ในช่วงระยะเวลาสัมปทาน และจะต้องโอนให้กทม. เมื่อสิ้นสุดอายุสัมปทาน ระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส เป็นระบบรถไฟฟ้าสายแรกในประเทศไทย โดยมีเส้นทางที่ครอบคลุมพื้นที่เขตชั้นในย่านการค้า และธุรกิจที่สำคัญของกรุงเทพฯ ปัจจุบันระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส มีขบวนรถไฟฟ้า 35 ขบวน มีจำนวนสถานีทั้งหมด 23 สถานี ให้บริการในสองเส้นทางซึ่งมีระยะทางรวมทั้งสิ้น 23.5 กิโลเมตร สายสุขุมวิทมีจำนวนสถานีทั้งหมด 17 สถานี ให้บริการจากย่านศูนย์กลางธุรกิจการค้าบริเวณสยามสแควร์ ไปทางทิศเหนือและตะวันออก เป็นระยะทาง 17 กิโลเมตร เชื่อมต่อบริเวณหมอชิตและอ่อนนุช ส่วนสายสีลมมีจำนวนสถานีทั้งหมด 7 สถานี ให้บริการในแนวทิศตะวันตกและใต้ เป็นระยะทาง 6.5 กิโลเมตร เชื่อมต่อสนามกีฬาแห่งชาติและสะพานตากสิน นอกจากนี้ BTSC ได้รับจ้างกทม. เป็นผู้ จัดหารถไฟฟ้าให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีลม โดยมีสถานี 2 แห่ง บนระยะทาง 2.2 กิโลเมตร BTSC สามารถกำหนดค่าโดยสารตามระยะทางได้ไม่เกินเพดานอัตราค่าโดยสารสูงสุดที่อาจเรียกเก็บได้ (Authorized Fare) ซึ่งกำหนดไว้ภายใต้สัญญาสัมปทาน สามารถเปลี่ยนแปลงได้ทุก 18 เดือน โดย BTSC จะต้องแจ้งให้กทม. และ ประชาชนทั่วไปทราบ ในส่วนเพดานอัตราค่าโดยสารสูงสุดที่อาจเรียกเก็บได้ (Authorized Fare) นั้น BTSC สามารถ ขอปรับขึ้นได้ในกรณีที่ดัชนีราคาผู้บริโภคชุดประจำเดือนทั่วไปสำหรับเขตกรุงเทพฯ ("ดัชนี") (Consumer Price Index: CPI for Bangkok) เพิ่มขึ้นตามข้อตกลงในสัญญาสัมปทาน หรือการปรับกรณีพิเศษโดยการขออนุญาต กทม. ตามรายละเอียดในสัญญาสัมปทาน ทั้งนี้ การให้บริการรถไฟฟ้าในส่วน 23.5 กม. แรกนั้น BTSC เป็นผู้รับรายได้ค่าโดยสารทั้งหมดโดยไม่ต้องมีส่วนแบ่ง รายได้ใหแก่ กทม. ในขณะที่การเดินรถในส่วนต่อขยายสายสีลมระยะทาง 2.2 กม. ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อกับระบบของ BTSC นั้น กทม. ได้ว่าจ้างให้ BTSC เป็นผู้ให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุง ตามสัญญาการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุง ระหว่างบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (วิสาหกิจกรุงเทพมหานคร) กับ BTSC ("สัญญาจ้าง") โดยบริษัทจะได้รับค่าจ้าง ในอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้าง ส่วนค่าโดยสารที่เกิดขึ้นจากการเดินทางระหว่าง 2 ระบบ (ระบบของ BTSC และ ระบบส่วนต่อขยาย 2.2 กม.) กทม. และ BTSC มีการจัดสรรค่าโดยสารของแต่ละฝ่าย ตามวิธีการคำนวณรายรับค่า โดยสารตามสิทธิ ตามรายละเอียดในบันทึกข้อตกลงเรื่องการจัดสรรค่าโดยสารตามสิทธิ ระหว่าง กรุงเทพมหานคร และ BTSC โดยจะแบ่งตามระยะทางจริงที่ผู้โดยสารใช้บริการในแต่ละระบบ 3 ธุรกิจการให้บริการรถไฟฟ้า เป็นธุรกิจหลักของ BTSC ในปีบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2552 BTSC ให้บริการ ผู้โดยสารกว่า 136 ล้านคน ซึ่งเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละประมาณร้อยละ 11.0 นับตั้งแต่เริ่มเปิดให้บริการเต็มปีในปีบัญชีสิ้นสุด วันที่ 31 มีนาคม 2544 และเมื่อส่วนต่อขยายสายสีลมได้เริ่มเปิดให้บริการในวันที่ 15 พฤษภาคม 2552 จำนวน ผู้โดยสารเฉลี่ยต่อวันก็ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 448,362 คนต่อวันทำงานในระหว่างเดือนมิถุนายน ถึงธันวาคม ในปี 2552 จาก 424,661 ต่อวันทำงานในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2551 นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2553 กรุงเทพธนาคมได้เข้าทำสัญญาว่าจ้าง BTSC ในสัญญาจ้างผู้เดินรถพร้อม จัดหารถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ (BRT) สายช่องนนทรี - ราชพฤกษ์ เป็นระยะเวลา 7 ปี โดย BTSC จะได้รับ ค่าตอบแทนจาก กทม. เป็นเงินจำนวนทั้งหมด 535 ล้านบาท ตลอดอายุสัญญา โดย BRT ให้บริการครอบคุลม 12 สถานี เป็นระยะทาง 15 กิโลเมตร จากบริเวณช่องนนทรี ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ข้ามไปยังสะพานกรุงเทพ ไปจนถึง บริเวณถนนราชพฤกษ์ โดยสถานีเริ่มต้นของ BRT นั้น มีทางเชื่อมต่อกับสถานีช่องนนทรีของบีทีเอส BRT สามารถ ให้บริการได้อย่างรวดเร็วกว่ารถโดยสารประจำทางทั่วไป โดยมีการจัดช่องทางพิเศษโดยเฉพาะสำหรับ BRT ระบบ BRT นั้น กทม. เป็นผู้ลงทุนก่อสร้างทางวิ่งและสถานีทั้งหมด ซึ่งการก่อสร้างทางวิ่งและสถานีเหล่านี้เสร็จสิ้นเกือบทั้ง หมดแล้ว และมีแผนที่จะเริ่มให้บริการในวันที่ 15 พฤษภาคม 2553 2. ธุรกิจสื่อโฆษณา ธุรกิจให้เช่าพื้นที่โฆษณานั้น ให้บริการโดยบริษัท วีจีไอ โกลบอล มีเดีย จำกัด และบริษัทในเครือ ("กลุ่มวีจีไอ") ซึ่ง BTSC ได้เข้าซื้อหุ้นทั้งร้อยละ 100 ของบริษัท วีจีไอ โกลบอล มีเดีย จำกัด เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2552 โดยปัจจุบัน กลุ่มวีจีไอดำเนินการบริหารจัดการด้านการตลาด เกี่ยวกับพื้นที่โฆษณา ทั้งพื้นที่ภายใน และพื้นที่รอบนอกขบวน รถไฟฟ้า รวมถึงพื้นที่ร้านค้าและโฆษณาในบริเวณสถานีรถไฟฟ้าด้วย นอกจากนี้ ธุรกิจของกลุ่มยังได้ขยายขึ้นจาก เฉพาะที่เกี่ยวกับการโฆษณาบนรถไฟฟ้าและสถานีรถไฟฟ้า ไปยังการโฆษณาในร้านค้าปลีกชั้นนำขนาดใหญ่ต่างๆ ไม่ ว่าจะเป็นการบริหารพื้นที่โฆษณา และจอแอลซีดี ใน เทสโก้ โลตัส และเทสโก้ โลตัส เอ็กซ์เพรส การบริหารพื้นที่ โฆษณาในบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ และคาร์ฟูร์อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีการขยายธุรกิจไปยังการบริหารสื่อโฆษณาในลิฟท์ ของอาคารสำนักงานต่างๆ โรงภาพยนต์ ร้านอาหาร และแหล่งบันเทิงโดยการเข้าซื้อหุ้นของ บริษัท พอยท์ ออฟ วิว (พีโอวี) มีเดีย กรุ๊ป จำกัด ("พีโอวี") กลุ่มวีจีไอได้สิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการบริหารพื้นที่โฆษณาทั้งบนรถไฟฟ้าและสถานีรถไฟฟ้า และพื้นที่โฆษณาใน ร้านค้าปลีกซึ่งผู้ค้าปลีกไม่ได้บริหารจัดการ 3. ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 3.1 โครงการธนาซิตี้ ถ. บางนา-ตราด กม.14 โครงการธนาซิตี้ ตั้งอยู่บนถนนบางนา-ตราด กม.14 จากที่ตั้งโครงการสามารถเดินทางสะดวกด้วยเส้นทางถนนบางนา- ตราดหรือทางด่วนยกระดับ ไปเชื่อมต่อยังถนนอ่อนนุช มอเตอร์เวย์ กรุงเทพฯ-ชลบุรี อีกทั้งโครงการยังอยู่ใกล้สิ่ง อำนวยความสะดวกต่างๆ อาทิเช่น ห้างสรรพสินค้า มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล สนามบินสุวรรณภูมิ และจุด Airport Link สำหรับการเดินทางเข้าเมืองโดยรถไฟฟ้าได้ในอนาคต โครงการมีพื้นที่รวมทั้งสิ้นกว่า 1,600 ไร่ เป็นโครงการขนาดใหญ่พร้อมด้วยสาธารณูปโภคครบครัน ท่ามกลาง สิ่งแวดล้อมที่ดีจากธรรมชาติของต้นไม้รายรอบโครงการ นอกจากนี้ ผู้อยู่อาศัยสามารถสมัครเป็นสมาชิกสปอร์ตคลับซึ่ง มีสนามเทนนิส สระว่ายน้ำ สนามแบตมินตัน สนามบาสเก็ตบอล เซาน่า พื้นที่เล่นสำหรับเด็ก ฟิตเนส และห้องแอโรบิค อีกทั้งยังสามารถสมัครเป็นสมาชิกกอล์ฟคลับ ซึ่งมีสนามกอล์ฟมาตรฐาน 18 หลุม 72 พาร์ และสนามไดร์ฟกอล์ฟ ภายในพื้นที่ของโครงการ เนื่องจากโครงการธนาซิตี้เป็นโครงการขนาดใหญ่ สามารถรองรับความต้องการของลูกค้าทุกประเภท บริษัทฯ จึงได้ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์หลายรูปแบบ เพื่อตอบสนองกับความต้องการของลูกค้าทุกประเภท ได้แก่ บ้านเดี่ยวพร้อมที่ดิน ทาวน์เฮ้าส์ อาคารชุดพักอาศัย และที่ดินเปล่าจัดสรร ในปัจจุบันโครงการบางส่วนได้พัฒนาเสร็จและปิดการขายไป เรียบร้อยแล้ว เช่น โครงการบ้านเดี่ยวเพรสทีจเฮ้าส์ I ซึ่งเป็นบ้านเดี่ยวพร้อมที่ดินขนาด 400 ตารางวาขึ้นไป ในปัจจุบัน โครงการธนาซิตี้มีโครงการอสังหาริมทรัพย์พร้อมขายเหมาะสำหรับลูกค้าทุกประเภท ดังต่อไปนี้ (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2553) บ้านเดี่ยวพร้อมที่ดิน โครงการที่ขายอยู่ ได้แก่ เพรสทีจเฮ้าส์ II เพรสทีจเฮ้าส์ III (ฮาบิแทต) และธนาเพลสกิ่งแก้ว โครงการเพรสทีจเฮ้าส์ I ซึ่งเป็นที่ดินขนาดใหญ่ประมาณ 400 ตาราวาขึ้นไป ได้ขายหมดไปแล้ว ในปัจจุบันโครงการ เพรสทีจเฮ้าส์ II เพรสทีจเฮ้าส์ III (ฮาบิแทต) และธนาเพลสกิ่งแก้ว มีหน่วยคงเหลือจำนวน 43, 84 และ 90 หน่วย ตามลำดับ ทาวน์เฮ้าส์ โครงการทาวน์เฮ้าส์ ริมน้ำและริมสวน เน้นการออกแบบให้มีพื้นที่ใช้สอยขนาดใหญ่ บรรยากาศแบบบ้านพักตากอากาศ สำหรับโครงการมูลค่า 188.1 ล้านบาท นี้ ได้ขายออกแล้วจำนวน 54 หน่วย และยังคงเหลืออีก 18 หน่วย 4 โครงการทาวน์เฮ้าส์ (ฮาบิแทต) เน้นพื้นที่ใช้สอยอเนกประสงค์ที่ใช้งานได้หลากหลาย เหมาะสำหรับเป็นทาว์เฮาส์เพื่อ การพาณิชย์ โครงการ 20 หน่วยนี้มีมูลค่า 24.7 ล้านบาท โดยได้ขายออกแล้วจำนวน 4 หน่วย อาคารชุดพักอาศัย เพรสทีจคอนโดมิเนียมเป็นหน่วยที่ใหญ่กว่า โดยมีราคาขายอยู่ที่ประมาณ 15 ล้านบาทต่อหน่วย เพรสทีจคอนโดมิเนียมมีจำนวน ทั้งหมด 340 หน่วยโดยยังมีเหลืออีก 2 หน่วย ส่วนนูเวลคอนโดมิเนียมมีราคาขายอยู่ที่ประมาณ 1.2 - 7.9 ล้านบาทต่อหน่วย โครงการนี้มีจำนวนทั้งหมด 905 หน่วยโดยได้ ขายออกแล้วจำนวน 804 หน่วย และให้เช่าจำนวน 2 หน่วย กิ่งแก้วคอนโดมิเนียมเป็นอาคารชุดพักอาศัยมีราคาย่อมเยาที่สุดในบรรดาอาคารชุดพักอาศัยที่บริษัทฯ ได้พัฒนาโดยมีราคาขาย อยู่ที่ประมาณ 0.8 - 1.3 ล้านบาทต่อหน่วย กิ่งแก้วคอนโดมิเนียมมีจำนวนทั้งหมด 456 หน่วยโดยยังมีเหลืออีก 99 หน่วย ที่ดินเปล่าจัดสรร ที่ดินจัดสรรเพื่อจำหน่าย โดยบริษัทมีบริการรับสร้างบ้านให้แก่ลูกค้าตามที่ต้องการ ทั้งนี้บริษัทได้จัดสรรแปลง ที่ดินหลายขนาดเพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่ม เช่น เพรสทีจไพร์มแลนด์ จะมีพื้นที่แปลงละ ประมาณ 250 ตารางวา ราคาขายประมาณ 35,000 บาทต่อตารางวา และ โครงการแคลิฟอร์เนียน จะมีพื้นที่แปลงละ ประมาณ 80 ตารางวา ราคาขายประมาณ 35,000 บาทต่อตารางวา 3.2 โครงการโรงแรม และเซอร์วิสอพาร์ทเมนท์ โรงแรม ยู เชียงใหม่ โรงแรม ยู เชียงใหม่ เป็นโรงแรมแห่งแรกในเครือโรงแรม U Hotels & Resorts โดยเริ่มเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2551 เป็นโรงแรมระดับมาตรฐาน 4 ดาว ในรูปแบบบูติคโฮเต็ล (Boutique Hotel) ก่อสร้างในรูปแบบ สถาปัตยกรรมอาคารไทยล้านนา ตั้งอยู่บนถนนราชดำเนิน ใจกลางเมืองจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งใกล้กับถนนคนเดิน 'ถนน ราชดำเนิน' ที่มีชื่อเสียง โรงแรมมีห้องพักจำนวน 41 ห้อง โดยมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นนักท่องเที่ยวและนักธุรกิจชาว ไทยและชาวต่างประเทศ เซอร์วิสอพาร์ทเมนท์เดอะรอยัลเพลส 2 และโครงการเดอะแกรนด์ โครงการเดอะรอยัลเพลส 2 และโครงการเดอะแกรนด์เป็นโครงการที่บริษัทฯ ได้สร้างห้องพักอาศัยเพื่อขายสิทธิการ เช่ มี ร ยะเวลา 30 ปี โดยเปิด ขายโครงการในปี 2536 ในปัจ จุ บั น บริษั ท ฯ ได้ ปิ ด การขายแล้ว โดยห้ องพั ก ซึ่ ง ยั ง คงเหลือนั้น บริษัทฯ ได้ตกแต่งพร้อมเฟอร์นิเจอร์และให้เช่าระยะสั้น 1 ปี หรือนานกว่า นอกจากนี้ยังมีพื้นที่พาณิชย์ให้ เช่าบริเวณด้านล่างอาคารโดยมีระยะเวลาการเช่า 3 ปี และสามารถต่อสัญญาได้ 3.3 โครงการอาคารสำนักงาน ทีเอสทีทาวเวอร์ ตั้งอยู่บนถนนวิภาวดี-รังสิต ฝั่งตรงข้ามอาคารสำนักงานใหญ่การบินไทย เป็นอาคารสูง 24 ชั้น มีพื้นที่ ให้เช่าทั้งหมดประมาณ 15,875.5 ตารางเมตร อาคารประกอบไปด้วยส่วนสำนักงาน 15 ชั้น และพื้นที่จอดรถ 8 ชั้น ปัจจุบันมีจำนวนผู้เช่าคิดเป็นอัตราการเช่าร้อยละ 96 ทีเอสทีทาวเวอร์ เป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์สินหลักประกันตามแผนฟื้นฟูกิจการ ซึ่งศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งให้ ประมูลสินทรัพย์ดังกล่าว โดยรายได้จากการประมูลจะจัดสรรให้เจ้าหนี้ตามสัดส่วนหนี้ ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ทำการประมูล ขายทรัพย์และได้ผู้ชนะการประมูลแล้ว เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2552 และบริษัทฯ ได้เข้าทำสัญญากับผู้ชนะการ ประมูลเพื่อซื้อทีเอสทีทาวเวอร์กลับมา อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ บริษัทฯ ยังไม่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์รายการนี้ เนื่องจากยังอยู่ในกระบวนการของศาลล้มละลายกลาง 3.4 โครงการอสังหาริมทรัพย์ของ BTSC ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในแนวรถไฟฟ้าบีทีเอส เป็นเป้าหมายระยะยาวของ BTSC โดย BTSC ได้มีการ พิจารณาโอกาสและความเป็นไปได้ในการลงทุนในธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มาเป็นระยะเวลานาน หลังจากที่ BTSC ได้ดำเนินการออกหุ้นและดำเนินการเพิ่มทุนตามเงื่อนไขในแผนฟื้นฟูกิจการจนเป็นผลสำเร็จแล้ว และมีความพร้อมมาก ขึ้น BTSC จึงได้ดำเนินการซื้อที่ดิน 5 แปลง ซึ่ง BTSC ได้มีการศึกษาและพิจารณามาก่อนแล้วในขณะที่ BTSC ยังอยู่ ในกระบวนการฟื้นฟูกิจการ BTSC เชื่อว่า BTSC มีความได้เปรียบในการพัฒนา และบริหารโครงการที่ดิน โครงการก่อสร้างอาคารต่างๆ ที่อยู่ตาม แนวเส้นทางเดินรถไฟฟ้า และโครงการที่ใกล้กับสถานีในระยะทางที่สามารถเดินถึงได้ ทั้งที่เป็นแนวเส้นทางเดิน รถไฟฟ้าและสถานีทั้งในปัจจุบันและที่คาดว่าจะมีในอนาคต เนื่องจาก BTSC สามารถเพิ่มศักยภาพให้กับโครงการของ BTSC ได้มากกว่าโครงการทั่วไป นอกจากนี้ ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ยังน่าจะช่วยเพิ่มจำนวนผู้โดยสารของระบบ รถไฟฟ้าบีทีเอส โดย BTSC มีนโยบายจะลงทุนในโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในแนวเส้นทางรถไฟฟ้าเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อเป็นการใช้จุดแข็งของ BTSC ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยแนวทางการลงทุนของ BTSC จะแตกต่างกับ ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายอื่นซึ่งมีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์โดยทั่วไป (ยังมีต่อ)