ความเป็นมาของบริษัท

2511

ก่อตั้งบริษัท ธนายง จำกัด (ธนายง)

2534

ธนายงเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ภายใต้หมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์

2535

ธนายงปรับเปลี่ยนธุรกิจมุ่งเน้นระบบขนส่งมวลชนทางราง ภายใต้บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (บีทีเอสซี) เพื่อเข้าลงนามในสัญญาสัมปทานจากกรุงเทพมหานคร (กทม.) ในการสร้างและบริหารระบบรถไฟฟ้าแห่งแรกของกรุงเทพมหานคร (รถไฟฟ้าบีทีเอสสายหลัก)

2540

เกิดวิกฤติเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงถึง130% เมื่อเทียบกับเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงเวลาไม่ถึง 6 เดือน ซึ่งส่งผลกระทบต่อทั้งธนายงและบีทีเอสซี เนื่องจากทั้งสองบริษัทมีภาระหนี้สินในสกุลดอลลาร์หรัฐฯ ในสัดส่วนที่สูง

2542

เปิดให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสสายหลัก

2549-2551

ธนายงและบีทีเอสซีออกจากกระบวนการฟื้นฟูกิจการภายหลังได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย

2552

เปิดให้บริการส่วนต่อขยายสายสีลม


ขยายธุรกิจไปสู่ธุรกิจสื่อโฆษณา โดยการเข้าซื้อกิจการของบริษัท วีจีไอ จำกัด (มหาชน) (วีจีไอ) 100%

2553

ธนายงซื้อหุ้นบีทีเอสซีในสัดส่วน 94.6% และได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (บีทีเอส กรุ๊ป)


บีทีเอสซีเริ่มให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงรถโดยสารด่วนพิเศษ (บีอาร์ที) ภายใต้สัญญาจ้างผู้เดินรถพร้อมจัดหารถโดยสารและสัญญาจ้างผู้บริหารสถานี

2554

เปิดให้บริการส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท

2555

บีทีเอสซีลงนามในสัญญาการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงส่วนต่อขยายสายสีเขียว 1 และเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอสสายหลัก ภายหลังครบกำหนดสัญญาสัมปทาน


วีจีไอ ซึ่งเป็น บริษัทย่อยของกลุ่มบริษัทได้เข้าจดทะเบียนและซื้อขายในตลท. โดยใช้ชื่อย่อ “VGI”

2556

บีทีเอส กรุ๊ปจดทะเบียนกองทุนกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางราง บีทีเอสโกรท (BTSGIF) ซึ่งเป็นกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานกองทุนแรกในประเทศไทย โดยกองทุนดังกล่าวลงทุนในสิทธิการรับรายได้ค่าโดยสารสุทธิในอนาคตที่จะเกิดขึ้นจากการเดินรถไฟฟ้าบีทีเอสสายหลัก


เปิดให้บริการส่วนต่อขยายสายสีลมเพิ่มเติม

2558

บีทีเอส กรุ๊ปเสริมความแข็งแกร่งในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ผ่านการเข้าลงทุนในบริษัท ยู ซิตี้ จำกัด (มหาชน) (ยู ซิตี้) ในสัดส่วนเริ่มแรกที่ 35.6%

2560-2569

2560

บีทีเอสซีลงนามในสัญญาการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียวเหนือและใต้


บริษัทย่อยซึ่งบีทีเอส กรุ๊ป ถือหุ้นในสัดส่วน 75% ได้รับสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสายสีเหลืองจาก การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)

2561

บีทีเอส กรุ๊ป ปรับโครงสร้างในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์โดยการโอนกิจการทั้งหมดที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ไปยัง ยู ซิตี้


บีทีเอสซีลงนามในสัญญาการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการรถไฟฟ้าสายสีทอง ระยะที่ 1


เปิดให้บริการส่วนต่อขยายสายสีเขียวฝั่งใต้


วีจีไอ ปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจจากเดินที่เป็นผู้ให้บริการสื่อโฆษณานอกบ้านสู่ผู้ให้บริการแบบ Offine-to-Online (O2O) Solutions ภายใต้วิสัยทัศน์ใหม่ ‘Pioneering Solutions for Tomorrow’


วีจีไอ เข้าลงทุน 23.0%1 ในเคอรี่ เอ็กเพรส (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นผู้นำด้านการจัดส่งพัสดุในประเทศ

1ณ เดือนมีนาคม 2564 วีจีไอ ถือหุ้น เคอรี่ เอ็กเพรส สัดส่วน 18% ภายหลักการเสนอขายหลักทรัพย์ (IPO) ของ เคอรี่ เอ็กเพรส ในเดือนธันวาคม 2563

2563

กิจการร่วมค้าซึ่งบีทีเอส กรุ๊ป ถือหุ้นในสัดส่วน 35% ได้ลงนามในสัญญาร่วมลงทุนโครงการพัฒนาสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา ซึ่งจะเป็นสนามบินนานาชาติเชิงพาณิชย์หลักแห่งที่ 3


กิจการร่วมค้าซึ่งบีทีเอส กรุ๊ป ถือหุ้นในสัดส่วน 40% ได้เป็นผู้ชนะประมูลโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง 2 เส้นทาง ได้แก่เส้นทาง M6 และ M81


เปิดให้บริการส่วนต่อขยายสายสีเขียวฝั่งเหนือ
เปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีทอง ระยะที่ 1

2564-2573

บีทีเอส กรุ๊ป ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ใหม่ภายใต้ ‘3M’ ซึ่งประกอบได้ด้วยธุรกิจ MOVE, MIX and MATCH ภายใต้สโลแกนใหม่ของบริษัทฯ ‘Borderless, Transform, Solutions’