สำนักตรวจสอบภายใน

สำนักตรวจสอบภายในเป็นหน่วยงานอิสระภายในบริษัทฯ และรายงานต่อ คณะกรรมการตรวจสอบ ทำหน้าที่ตรวจสอบและประเมินความเพียงพอ ของระบบควบคุมภายในของบริษัทฯ ทั้งที่เป็นข้อมูลทางการเงินและไม่ใช่ ข้อมูลทางการเงิน รวมทั้งสอบทานการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ภายใน และให้ข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานของบริษัทฯ เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทฯ ได้ปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับของกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน มีการกำกับดูแลและการควบคุมภายในที่ดี สามารถบรรลุวัตถุประสงค์การดำเนินงานขององค์กร

สำนักตรวจสอบภายในมีการวางแผนการตรวจสอบประจำปี และแผน การตรวจสอบระยะยาว 3 ปี โดยการจัดทำแผนการตรวจสอบเป็นไปตาม หลักการประเมินความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ และครอบคลุมกระบวนการดำเนินงานขององค์กร ซึ่งผ่านการอนุมัติจาก คณะกรรมการตรวจสอบ โดยขอบเขตการทำงานของสำนักตรวจสอบ ภายในจะครอบคลุมถึงการตรวจสอบ ติดตาม ควบคุม ทดสอบ สอบทาน และประเมินความเพียงพอ และความมีประสิทธิภาพของระบบ การควบคุมภายในของบริษัทฯ รวมทั้งคุณภาพของการปฏิบัติงาน ในเรื่องดังต่อไปนี้

  • ความน่าเชื่อถือของระบบการควบคุมภายใน ตลอดจนการปฏิบัติตาม มาตรฐานและนโยบายด้านการบัญชี และการเงิน เพื่อให้ข้อมูลทางบัญชี และการเงินมีความถูกต้องเชื่อถือได้ แผนการจัดโครงสร้างองค์กร วิธีการ และมาตรการต่าง ๆ ในการป้องกันทรัพย์สินจากการนำไปใช้ โดยมิชอบให้ปลอดภัยจากการทุจริตผิดพลาดทั้งปวง
  • ความน่าเชื่อถือของระบบการควบคุมภายในด้านการบริหาร และการปฏิบัติงานว่าได้มีการปฏิบัติที่สอดคล้องกับนโยบาย แผนงาน และเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับของทางราชการและหน่วย งานกำกับดูแล และระเบียบข้อบังคับของบริษัทฯ ซึ่งครอบคลุมกิจกรรม ในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การจัดการ การปฏิบัติการ การจัดซื้อจัดจ้าง การตลาด การบริหาร การเงิน การบัญชี และทรัพยากรบุคคล
  • ความน่าเชื่อถือของระบบการควบคุมภายในด้านสารสนเทศ โดย สอบทานโครงสร้างของฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ การเข้าถึงข้อมูล การเข้าสู่โปรแกรม การประมวลผล การพัฒนาระบบ การจัดทำ ข้อมูลสำรอง การจัดทำแผนการสำรองกรณีฉุกเฉิน อำนาจการ ปฏิบัติงานในระบบ การจัดทำเอกสารจากระบบ รวมทั้งการเก็บรักษา เอกสาร คู่มือ ตลอดจนผังระบบงานคอมพิวเตอร
  • ความน่าเชื่อถือของระบบการควบคุมภายในด้านการต่อต้านการทุจริต เพื่อให้สอดคล้องและตอบรับกับมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน ของบริษัทฯ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรม และ พัฒนาอย่างยั่งยืนมากยิ่งขึ้น อันประกอบไปด้วยกรอบแนวทางการรับ เรื่องร้องเรียน การจัดการเรื่องร้องเรียน โดยมีการประสานงานกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาและหาแนวทางป้องกัน เพื่อให้พนักงานรวมทั้งผู้มีส่วนได้เสียอื่น ๆ มีช่องทางในการแจ้งเรื่อง ร้องเรียน หรือเบาะแส ซึ่งสำนักตรวจสอบภายในเป็นช่องทางหนึ่ง ในกระบวนการรับเรื่องร้องเรียน โดยได้จัดทำคู่มือการรับเรื่องร้องเรียน สำหรับเรื่องร้องเรียนทั่วไป เรื่องร้องเรียนที่มีผลกระทบอย่างมี นัยสำคัญ และเรื่องร้องเรียนที่อาจเกิดจากการทุจริตคอร์รัปชัน โดยสำนักตรวจสอบภายในจะมีการติดตามความคืบหน้าของการ ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนและรายงานต่อคณะกรรมการ ตรวจสอบ

สำนักตรวจสอบภายในจะรายงานผลการตรวจสอบต่อคณะกรรมการ ตรวจสอบเป็นประจำทุกไตรมาส รวมทั้งติดตามความคืบหน้าในการแก้ไข ข้อบกพร่องตามข้อเสนอแนะอย่างสม่ำเสมอ

ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบภายใน

อ่านเพิ่มเติม